Aesop’s Fables – นิทานอีสปภาษาอังกฤษพร้อมแปลไทย
เรื่อง คนตัดฟืนกับงูพิษ (The Wood man and the Serpent)
One wintry day, a Wood man was tramping home from his work when he saw something black lying on the snow. When he came closer, he saw it was a serpent to all appearance dead.
วันหนึ่งในฤดูหนาว คนตัดฟืนผู้หนึ่งกำลังเดินย่ำต๊อกกลับบ้าน เมื่อเสร็จงาน ขณะนั้นเขาเหลือบไปเห็นอะไรบางอย่างสีดำ ทอดตัวอยู่ในหิมะ เมื่อเขาเข้าไปใกล้มัน เขาก็เห็นว่ามันคืองูตัวหนึ่ง ลักษณะเหมือนตาย
But he took it up and put it in his bosom to warm while he hurried home. As soon as he got indoors he put the Serpent down on the hearth before the fire. The children watched it and saw it slowly come to life again.
แต่เขาก็จับมันขึ้นมา แล้วเอาแนบอกเพื่อทำความอบอุ่นให้กับมัน ตลอดเวลาที่เขารีบรุดกลับบ้าน พอเขาเข้าไปในบ้าน เขาก็เอางูนั้นว่างลงที่เตาผิง หน้ากองไฟ พวกเด็กๆ (ลูกของเขา) เฝ้าดูมัน เห็นว่ามันค่อยๆ ฟื้นขึ้นอีกอย่างช้าๆ
Then one of them stooped down to stroke it, but the Serpent raised its head and put out its fangs and was about to sting the child to death. So the Wood man seized his axe, and with one stroke cut the Serpent in two.
แล้วลูกของเขาคนหนึ่งก็ก้มลงเพื่อเขี่ยมันดู แต่งูตัวนั้น มันชูหัวขึ้น แยกเขี้ยว และกำลังจะฉกเด็กคนนั้นให้ถึงตาย ดั้งนั้น คนตัดฟืนจึงคว้าขวานมา ฟันฉับเดียวงูนั้นก็ขาดเป็นสองท่อน
“ทำคุณบูชาโทษ” (No gratitude from the wicked)
สำนวนสุภาษิตไทย
“ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป” สำนวนนี้หมายถึง… การทำคุณหรือการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาดี แต่กลับกลายเป็นได้รับโทษตอบแทน หรือเข้าทำนองที่ว่า ยุ่งไม่เข้าเรื่องอะไรทำนองนั้น… สำนวนนี้นิยมใช้ประโยคแรกประโยคเดียวพูด “ทำคุณบูชาโทษ” ก็เป็นที่เข้าใจกัน
คำศัพท์ (Vocabulary)
do you a turn = ตอบแทน (บุญคุณ) ท่าน
tickle (v.) = ขำขัน, จี้ให้หัวเราะ
wagon (n.) = รถบรรทุกสินค้า (แต่ก่อนเทียมด้วยม้า)
plight (n.) = สภาพที่ลำบาก (หรือตกอยู่ในอันตราย)
gnaw (v.) = กัด, ขบ, แทะ