Nitan Story
นิทาน นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้านภาคกลางเรื่อง ยายกับตา (ยายกะตา)

นิทานพื้นบ้านภาคกลางเรื่องนี้เรื่อง ยายกะตา หรือนิทานยายกับตา เป็นนิทานลูกโซ่คือ นิทานที่เรื่องดำเนินไป เพราะตัวละครซึ่งมีอยู่หลายตัว มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกันเป็นทอดๆ เหมือนลูกโซ่ ส่วนใหญ่เรื่องจะวนกลับมาที่เดิม แต่บางครั้งอาจต่อเนื่องซ้ำๆ จนพบจุดจบ นิทานลูกโซ่ของไทยที่รู้จักกันดีคือ เรื่องยายกับตา ที่ยังหมาะสำหรับเด็กเริ่มเรียน เพื่อใช้ฝึกการอ่านได้เป็นอย่างดี เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามรับชมพร้อมกันเลย

เป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมา เพื่อความบันเทิงและคติสอนใจ และสะท้อนสภาพสังคมวิถีชีวิต และความเชื่อของสังคมนั้น นิทานยายกะตา เป็นตัวอย่างนิทานไทย ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และแสดงถึงความเป็นไทยในด้านสังคมเกษตรกรรม การเน้นความกตัญญู ทำผิดแล้วรู้จักยอมรับผิด และการเคารพผู้อาวุโสที่ดีอีกด้วย

นิทาน ยายกะตา เป็นนิทานเก่า สืบประวัติเท่าที่หลักฐานได้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากปรากฏเป็นภาพวาดไว้เชิงบานหน้าต่างในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน กลาง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามรับชมพร้อมกันเลย^^ นิทานพื้นบ้านภาคกลาง เรื่องยายกับตา (ยายกะตา)

เรื่อง ยายกับตา (ยายกะตา)

ยายกะตาปลูกถั่วปลูกงาให้หลานเฝ้า
หลานไม่เฝ้า
กามากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายกะตายายมายายด่า ตามาตาตี
หลานร้องไห้ไปหานายพราน ขอให้ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
นายพรานตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า” (“ไม่ใช่ธุระอะไรของข้า” )

นิทานพื้นบ้านภาคกลาง ยายกับตา (ยายกะตา)

หลานจึงไปหาหนู ขอให้ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
หนูตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า” (“ไม่ใช่ธุระอะไรของข้า” )

หลานจึงไปหาแมว ขอให้แมวช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
แมวตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาหมา ขอให้ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
หมาตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาไม้ค้อนให้ย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
ไม้ค้อนตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาไฟให้ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
ไฟตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาน้ำให้ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
น้ำตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาตลิ่งให้ช่วยพังทับน้ำน้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
ตลิ่งตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาช้างให้ช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งไม่ช่วยพังทับน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
ช้างตอบว่า “ไม่ใช่กงการอะไรของข้า”

หลานจึงไปหาแมลงหวี่ให้ช่วยตอมตาช้าง
ช้างไม่ช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งไม่ช่วยพังทับน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายด่า ตามาตาตี
แมลงหวี่ตอบว่า “ข้าจะช่วยตอมตาช้างให้ตาเน่า
ทั้งสองข้าง”

นิทานพื้นบ้าน ยายกับตา (ยายกะตา)

ช้างตกใจจึงรีบไปช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งจึงรีบไปช่วยพังทับน้ำ
น้ำจึงรีบไปช่วยดับไฟ
ไฟจึงรีบไปช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนจึงรีบไปช่วยย้อนหัวหมา
หมาจึงรีบไปช่วยกัดแมว
แมวจึงรีบไปช่วยกัดหนู
หนูจึงรีบไปช่วยกัดสายธนูของนายพราน
นายพรานจึงรีบไปช่วยยิงกา
กาจึงเอาถั่วเอางาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนานมาคืนหลาน
หลานเอาถั่วเอางาไปให้แก่ยายกะตา
ยายกะตาก็เลิกด่าเลิกตีหลานแต่นั้นมา

ปัจจุบัน นิทาน ยายกะตา ปรากฏในแบบเรียนหลักของไทย คือ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาไทยเพื่อชีวิต ชื่อหนังสือ “วรรณคดีลำนำ” และเคยจัดพิมพ์เฉพาะเนื้อเรื่อง เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะหนังสือวรรณคดีลำนำ ได้คัดลอกภาพทั้ง ๑๒ ภาพ และข้อความข้างใต้ภาพเรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
๑. นิทานยายกะตา ให้ความรู้เกี่ยวกับสังคมไทย ด้านเกษตรกรรมที่ดี ข้าว ถั่ว งา เป็นอาหารหลัก แสดงด้วยความรักห่วงใย ของปู่ย่า ตายาย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีต่อหลาน
๒. แสดงถึงการอบรมสั่งสอนให้หลานเชื่อฟังคำสั่งของตายาย และตัวหลานเองเมื่อทำผิดหรือทำพลาดแล้ว…ก็รู้ตนเองว่าผิดและยอมรับผิด เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
๓. สั่งสอนให้คนไทยเอาใจใส่ธุระของผู้อื่น อย่าดูดาย เมื่อใครมาขอความช่วยเหลือทันที ไม่ควรคิดว่า ธุระไม่ใช่ หรือไม่ใช่ธุระของตน นั่นคือมีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือทุกข์ของผู้อื่น และเฉลี่ยความสุขเผื่อแผ่ไปในสังคม อันเป็นคุณธรรมของสังคมไทยมายาวนาน

Credit: ich.culture.go.th,
https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=26&chap=1&page=t26-1-infodetail12.html

Related posts

นิทานอีสปเรื่อง หมาป่ากับลูกแกะ

Admin

นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องปุ๋ยลำไย

Admin

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องท้าวเจ็ดหวดเจ็ดไห (ฉบับย่อ)

Admin